เชื้อโรคจากนกพิราบ 

อันตรายใกล้ตัว ที่ต้องระวัง 

เชื้อโรคจากนกพิราบ อันตรายไกล้ตัว ถ้าเราลองสังเกตุสภาพแวดล้อมรอบตัวกันนิดนึง เราก็จะเจอนกพิราบอาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆรอบตัวเรา เช่น เสาไฟฟ้า หลังคาป้ายรถเมล์ บนพื้นหญ้า บนต้นไม้ในสวนสาธารณะ บนหลังคาบ้าน หลังคาตึก เรียกได้ว่านกพิราบอาศัยอยู่ตั้งแต่ยอดหญ้ายันยอดตึกกันเลยทีเดียว นั่นก็หมายความว่า ถ้านกพิราบเป็นพาหะนำโรค อันตรายก็อยู่รอบตัวของเราเช่นกัน

เชื้อโรคจากนกพิราบ

เชื้อโรคจากนกพิราบที่อันตรายและทุกคนน่าจะเคยได้ยินชื่อก็คือ ไข้หวัดนก เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ซึ่งเป็นเชื้อโรคติดต่อในอดีตที่รุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต และปัจจุบันเชื้อโรคไข้หวัดนกบางสายพันธุ์ มีข้อมูลว่ายังถูกพบในบางประเทศ และที่ร้ายกว่าคือการที่เชื้อโรคมันมีวิวัฒนาการแพร่เชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ คือสามารถที่จะแพร่เชื้อไปสู่สัตว์ปีกชนิดอื่นได้ ซึ่งก็รวมถึงนกพิราบด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากครับ

ข้อมูลการระบาดของ “โรคไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1
ในประเทศไทยตั้งแต่พบผู้ป่วยครั้งแรกนะครับ คืออยากให้ทุกคนได้รู้ถึงอันตรายที่อยู่ใกล้ตัว จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง

โรคไข้หวัดนกมีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดโดยมากถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปี พ.ศ. 2549 พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี

ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดนกจากทั่วโลก ไม่ได้มีแค่สายพันธุ์ H5N1 ครับ เชื้อโรคไข้หวัดนกที่มีข้อมูลการถูกพบจากทั่วโลก ยังมีอีกหลายสายพันธุ์ เช่น โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5 H5N2 H5N5 H5N6 H5N8 H7N3 และ H7N9 ถ้าอยากรู้ว่า เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่นๆ เคยถูกพบที่ประเทศไหน และมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนเท่าไหร่ สามารถคลิ๊กอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ “โรคไข้หวัดนกทุกสายพันธุ์ที่ถูกพบจากทั่วโลก”

รู้สึกอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลนี้ ปัญหาเรื่องเชื้อโรคจากนกพิราบไม่ใช่ปัญหาเล็กๆแล้วใช่มั้ยครับ ถ้ามันจะเกิดขึ้นอีกครั้งหรือหลายครั้ง ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ รู้แบบนี้แล้วต้องหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รับมือกับเชื้อโรคจากนกพิราบ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตกันไว้ให้พร้อมนะครับ


โรคที่มีสาเหตุมาจากนกพิราบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เกิดขึ้นได้จากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือมาจากพยาธิที่มากับอาหาร รวมทั้งเชื้อที่อาจพบได้ในมูลนกพิราบ ที่จะมีเชื้อราอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ละอองมูลแห้งเมื่อสูดผ่านทางเดินหายใจ หรือมือสัมผัสโดนมูลนกพิราบแล้วไม่ได้ทำความสะอาด หยิบจับอาหารเข้าปาก ก็ติดเชื้อผ่านทางเดินอาหาร

อาการของโรค
มีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการตึง ๆ ที่ลำคอ
มีอาการตาสู้แสงจ้าไม่ได้
กรณีติดเชื้อจากไวรัส อาการจะไม่รุนแรง กรณีมีภูมิต้านทานดี แค่ไปพบแพทย์และกินยา ก็หายเป็นปกติ
กรณีติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการจะรุนแรงกว่า อาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติ พิการ เช่น อัมพาต หูหนวก ปากเบี้ยว สมองพิการ เสียชีวิตภายในเวลารวดเร็ว


โรคคริปโตคอกโคสิส

เชื้อราที่อยู่ในมูลของนกพิราบ เรียกเชื้อราชนิดนี้ว่า “เชื้อคริปโตคอคคัส” (Cryptococcus neoformans) สามารถติดเชื้อในคนได้โดยการสัมผัสมูลนกพิราบ หรือจากการหายใจและสูดดมเชื้อเข้าไปในร่างกาย เมื่อเกิดการสัมผัสเชื้อราจะฟุ้งกระจาย เมื่อสูดดมก็จะติดเชื้อที่ปอด และสมอง

อาการของโรค

โรคคริปโตคอกโคสิสเป็นโรคในสัตว์ แต่คนก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มด้วยการมีอาการไข้
ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางด้านการมองเห็น มึนงง หากมีอาการติดเชื้อที่ปอด หรือสมอง อาจมีอาการสับสน พฤติกรรมเปลี่ยนไป และปอดอักเสบได้


ปอดอักเสบ

จากเชื้อราชนิดเดียวกัน หากสูดละอองสปอร์ราเข้าปอด ก็ทำให้ปอดอักเสบ เริ่มจากอาการปอดติดเชื้อ แล้วค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีอาการคล้ายกับ 2 โรคที่กล่าวมา

อาการของโรค

มีไข้ ปวดศีรษะเป็นพักๆ หน้ามืด วิงเวียน ปวดขมับ เบ้าตา อาเจียน ไอมีเสมหะเลือดปน หลอดลมอักเสบ บางรายถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิต


วิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้น

  1. สวมผ้าปิดปากจมูกเวลาทำความสะอาดบริเวณที่นกอาศัยอยู่
  2. ชำระร่างกายทุกครั้งหลังทำความสะอาด
  3. ระวังอย่าให้นกพิราบมาทำรังใกล้ ๆบ้าน
  4. ขึงตาข่ายกันนกหรือวางโมบายสะท้อนแสงที่นกไม่ชอบ
  5. บางคนไล่นกด้วยกลิ่น เช่น สารสกัดจากเม็ดองุ่น หรือกลิ่นอื่นๆที่คิดว่านกอาจจะไม่ชอบ ก็ต้องลองทดสอบกันดูครับ

วิธีการบางอย่างก็แก้ปัญหาได้แค่เฉพาะหน้าหรือแค่ระยะแรก ถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ การแก้ปัญหาแค่เฉพาะหน้าไม่พอแน่นอน เพราะความเสี่ยงมันสูงมาก

“ทุกปัญหามีทางออกเสมอ นอกจากวิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้ว การติดตั้งอุปกรณ์ไล่นกก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก”
อุปกรณ์ป้องกันนกที่จะแนะนำมี 2 อย่างครับคือ หนามกันนก และ ตาข่ายกันนก

บทความอื่นๆ

เชื้อโรคจากนกพิราบ

เชื้อโรคจากนกพิราบ

วิธีไล่นกพิราบ

วิธีไล่นกพิราบ

นกพิราบทำรังบนหลังคา

นกพิราบทำรังบนหลังคา

ตาข่ายกันนกคอนโด

ไล่นกพิราบคอนโด

วิธีไล่นกกระจอก

วิธีไล่นกกระจอก

วิธีไล่นกในนาข้าว

วิธีไล่นกในนาข้าว

นิสัยของนกพิราบ

ทำความรู้จักนกพิราบ

นกกระจอก

ทำความรู้จักนกกระจอก